วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความแรงของเครื่องมือเรียงตามลำดับ

หลังจากใช้เครื่องมือหลายๆแบบมาพักใหญ่ ปัญหาอีกแบบที่ตามมาก็คือถ้าเครื่องมือบางอย่างขัดแย้งกันแล้วเราควรจะให้ความสำคัญกับเครื่องมือไหนมากกว่ากัน
เช่น ถ้า RSI เกิด divergence แล้วแต่ถ้าลาก trend line กราฟยังอยู่ใน down trend กราฟเริ่มกลับหัวขึ้นละเราควรเปิด Long ตามเลยมั้ย ลองดูตามรูป


 
จะเห็นได้ว่า RSI เกิด Divergence แล้วแต่ยังเป็น down trend อยู่กราฟก็ไม่ได้เปลี่ยนข้างแต่อย่างใดยังคงอยู่ใน trend เดิม ดังนั้นสรุปได้ว่าไม่มีอะไรแรงกว่า trend

แล้ว Overbought/Oversold ล่ะเชื่อได้แค่ไหน ถ้าเกิด Overbought แล้วเปิด Short เลยได้มั้ย ลองดูรูป

จากรูปในช่วงที่ RSI เกิด Overbought นั้นกราฟก็ยังขึ้นไปสูงได้ต่ออีกมากถ้ารีบเปิด Short คงกินแกลบแทนข้าว
ส่วน Candle Stick คงไม่พูดถึงเพราะใช้กับการเล่นสั้นๆไม่ได้ตาม trend ซึ่งถ้าตามนี้คงให้ความสำคัญกับ Candle Stick น้อยสุด

สรุป
Trend Line > Divergence > Overbought/Oversold > Candle Stick pattern

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นักวิเคราะห์มันทำอะไรกัน

ขอบ่นหน่อย ดูมาหลายวันละ แต่ละวันเวลาตลาดเปิดหรือปิดนักวิเคราะห์จะออกมาบอกว่า

ถ้าร่วงจะบอกว่า "หุ้นไทยปิด/เปิดร่วง xx จุด เหตุกังวลน้ำท่วม-หนี้ยุโรป"
ถ้าขึ้นจะบอกว่า "หุ้นไทยปิด/เปิดบวก xx จุด คลายความกังวลน้ำท่วม-หนี้ยุโรป"

มันจะอะไรกันนักหนา มีสาเหตุให้หุ้นขึ้นหรือร่วงกันแค่นี้หรือไงหรือว่านึกอะไรไม่ออก เอะอะก็น้ำท่วม-หนี้ยุโรปทั้งๆที่ปัญหามันไม่ได้แก้ได้ภายในวันเดียว พรุ่งนี้ปัญหาเดิมๆมันก็ยังอยู่ไม่ได้หายไปไหนซะหน่อยทำไมมันทำอย่างกับว่าเด๋วแก้ได้ เด๋วแก้ไม่ได้ซะอย่างงั้น

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กล้าได้ กล้าเสีย

เคยได้ยินว่าจะเล่นพนันหรือเก็งกำไรต้องกล้าได้กล้าเสีย เห็นแล้วว่าจริงทุกประการ แต่ไม่ใช่ว่ากล้าได้ กล้าเสียหมายถึงให้เอาเงินก้อนใหญ่ทุ่มลงไปโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่งั้นได้โดนม้าแดกหมดตัว (ถ้าเคยเล่นหมากรุก ม้านี่แสบมาก แสบกว่าเรือเยอะ เรือแค่เป็นโล่ห์ เป็นกำแพงกั้นไม่ให้เราเดินผ่าน แต่ม้านี่เป็นหอกเป็นดาบ โดดข้ามกำแพงมาแทงกรูเรย)

กล้าได้ กล้าเสีย ในที่นี้ถ้าพูดถึงการเก็งกำไรน่าจะหมายถึง กล้า(ได้)ที่จะ let profit run ต้องใจแข็งมากๆ เห็นกำไรแล้วไม่ยอมคว้าไว้ เพราะถ้าเก็งผิดทาง กำไรที่เห็นตรงหน้าอาจกลับเป็นขาดทุนให้ต้องเจ็บใจได้เสมอ กล้า(เสีย) กล้าที่จะยอมเสียเงิน cut loss ถ้าผิดทาง อันนี้ยากกว่ากล้าได้ซะอีก ส่วนมากจะไม่กล้าเสีย ปล่อยขาดทุนไปไกลก่อน ถึงจะ cut loss ทั้งน้ำตาแล้วก็บ่นรู้งี้กรูคัทตั้งนานแล้ว

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทดสอบสมมุติฐานและระบบ

สมมุติฐาน
Trend ใหญ่ๆจะไม่หายไปในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นสามารถเปิด long/short ด้วยจำนวน lot เล็กๆเพื่อทดสอบตลาดก่อนได้ จากนั้นเมื่อ RSI วนมาอีกรอบค่อยตามอีก lot และปิดสถานะเมื่อกราฟนั้นทะลุ trend line อีกครั้งเป็นอันหมดรอบ

การทดสอบ
1. เพื่อความรวดเร็ว ดู trend ใหญ่ที่กราฟ 4h แล้วเล่นที่กราฟ 1h หาสัญญาณเข้าที่กราฟ 15m
2. เมื่อกราฟทะลุ trend line ของกราฟ 1h หมายถึงให้สัญญาณเปลี่ยน trend
3. เปิดสถานะ short/long ครั้งแรกเมื่อ zigzag ทะลุ higher high/lower low
4. รอ RSI ที่กราฟ 1h วนรอบแรก แล้วลาก trend line ถ้ากราฟทะลุ trend line นี้ถือเป็นสัญญาณปิดสถานะ
ให้ปิดสถานะที่เปิดไว้ทั้งหมดในครั้งเดียว
5. ทุกครั้งที่ RSI วนรอบในกราฟ 1h ให้ลาก trend line ใหม่ถ้าจำเป็น
6. ทุกครั้งที่ีกราฟดีดมาโดน trend line แต่ไม่ทะลุให้เปิดสถานะเพิ่ม
7. กลับไปทำข้อ 4 อีกครั้ง

ผลการทดสอบ
วันที่เริ่มเปิดสถานะ :                      Oct 5, 2011
คู่เงิน :                                            AUD/USD
lot ที่เปิดทั้งหมด                            0.02
วันที่ปิดสถานะทั้งหมด                  Oct 7, 2011
กำไร/ขาดทุนเมื่อจบรอบใหญ่       229.9 + 91.0 = 320.9 pip

ปัญหาที่พบ
ใจ อยู่ใจอย่างเดียว ต้องทนให้ได้ แม้จะเห็นราคาตกลงมาแต่ยังไม่เกินเส้น TL ก็ต้องทนให้ได้ เป็นประสบการณ์ที่ดี ถ้าทนไม่ได้ปิดสถานะไปก่อนคงได้มาแค่ 100++ เท่านั้น

สรุป
แค่รอบนี้รอบเดียวก็ตีคืนที่เสียยิบย่อยไปได้ทั้งหมด พิสูจน์ได้แล้วว่าถ้าเจอ trend ต้องเกาะ trend ไปให้ถึงที่สุด

ข้อคิด
ไม่มีวิธีการอะไรที่จะเป็นจอกศักดิ์สิทธิ์ คือได้กำไรอย่างเดียวไม่มีผิดพลาด ต้องยอมรับความผิดพลาดนั้นให้ได้เร็วแต่รู้ตัวว่าจะต้องแก้ไขเมื่อไหร่ และวิธีการใช้ TL นี้ไม่มีทางได้ maximum profit เพราะกราฟเคยขึ้นไปสูงถึง 450++ pip แต่ตามระบบยังไม่ปิดสถานะจนกว่าจะตกมาทะลุ TL แต่อย่างที่บอกถ้าไม่ยึดกฏนี้คงขายหมูไปตั้งแต่เห็นราคาวิ่งไปได้ 100++ แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปเครื่องมือที่มีและการใช้งาน

สรุปเครื่องมือที่มีและการใช้งาน

RSI ใช้สำหรับดู divergence เท่านั้น ห้ามใช้เป็นตัว ticker เด็ดขาด
MACD ใช้สำหรับดู divergence และใช้ดู trend ในระยะสั้น ไม่ใช้เป็น ticker เหมือนกัน
ADX ใช้สำหรับดูความแรงของ trend และใช้เลี่ยง sideway
Zigzag ใช้เป็นตัวกำหนดจุดเข้าซื้อหรือขาย ใช้ดู higher high/lower low เป็นหลัก

Trend line ใช้สำหรับดูแนวโน้มใหญ่ๆและใช้เป็นตัว ticker ซื้อขายตามการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มใหญ่ ถ้ายังไม่หลุดแนวโน้ม ให้ซื้อขายโดยอิงกับแนวโน้มใหญ่เป็นหลัก

ใช้แค่นี้แหละ ทำให้ได้กำไรซักหน่อยเหอะนะ

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เล่น Forex ยังไม่เข็ดอีกเรอะ ภาค4

ในที่สุดก็ต้องยอมรับความจริงว่าเล่น Forex มันไม่ง่าย เล่นเงินจริงมันเสียวกว่าเงินปลอมเยอะ
.
.
.

โดนล้างพอร์ตเป็นครั้งแรก     m(_ _)m     เป็นประสบการณ์ที่ดีที่ไม่อยากเจออีก
ปัญหาที่เจอตอนนี้คือระบบที่ใช้ (ทะลุแนวต้านแล้วตาม) บางครั้งมันทะลุแล้วมีแรงขายหรือซื้อสวนขึ้นมา แต่พอร์ตเราเล็กทำให้ทนขาดทุนได้ไม่นานเจอ Stop loss ซะก่อน พอโดนปั๊บลงไปอีกหน่อยก็เด้งขึ้นตามระบบ ทีนี้โดนหลายครั้งเข้าทำให้กำไรที่ได้ไม่พอโปะขาดทุน ก็โดนปิดพอร์ตไปตามระเบียบ หรือบางครั้งเพราะพอร์ตเล็ก ต้องตั้ง Stop loss ไว้ใกล้เกินไปทำให้โดน Stop loss ก่อน ยิ่งถ้าเป็น side way นี่ยิ่งหนัก เพราะตั้งดัก 2 ทาง มันก็โดน SL ทั้งสองทาง ขาดทุนเบิ้ลไปเลย

แต่ก็ยังไม่เข็ด คราวนี้ขอเปิด Micro account ละกันจะได้ทน Drawdown ได้นานหน่อย

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เล่น Forex ยังไม่เข็ดอีกเรอะ ภาค3

- มองหาเทรน ดูเทรนให้เข้าใจ เล่นตามเทรน
- ถ้าจับเทรนได้ก็ไปให้สุดเทรน
- 10% แรกกับสุดท้ายปล่อยให้คนอื่นไป


ทำให้ได้ซักครั้งเหอะ

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เล่น Forex ยังไม่เข็ดอีกเรอะ ภาค2

เล่นมาหลายเดือน(เงินปลอมนะ)ก็สังเกตุอะไรได้หลายอย่าง สำหรับคู่ EUR/USD

1. กราฟจะวิ่งให้เข้าเก็งกำไรได้ประมาณตี 3-5 ให้เปิด Order ดักไว้ทั้งสองทางเลย แล้วพอเช้ามาก็ปิด ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น ไม่ต้องเสียดายเพราะส่วนใหญ่พอเริ่มเช้ากราฟมันจะเริ่มวิ่งสวนทาง

2. กราฟวิ่งดีตอนประมาณ บ่าย2 - บ่าย4 อีกช่วงก็ซัก 1ทุ่ม - 3ทุ่ม


ข้อควรจำ ถ้าเล่นสวนเทรนใหญ่ ได้กำไรแล้วต้องออก ไม่งั้นไม่เหลืออะไร

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เล่น Forex ยังไม่เข็ดอีกเรอะ

การลงทุนมีความเสียว ข้อนี้จริงทุกประการ เล่นเงินปลอม เสียก็ช่างมัน ถือไว้ก่อนยังไม่ถึง SL เด๋วมันก็ขึ้น พอเป็นเงินจริงแล้วทำไม่ได้แฮะ เล่นเงินจริงมาตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. ตอนนี้ก็เกือบ 2 อาทิตย์แล้ว ยังไม่เคยถือรอจนมันทำ Higher low ได้เลย

ความโลภและความกลัวเข้าครอบงำจิตใจ

3 วันแรกยังได้กำไรอยู่ สงสัยยังติดมาจากเล่นเงินปลอม ถือทำ higher low ได้บ้าง Performance พุ่งปรี๊ดจนคิดว่าเออทำไมกูเก่งจัง สงสัยต้องลาออกไปเล่น Forex อย่างเดียวแล้วมั้ง

พอเข้าวันที่ 4 ความจริงเริ่มปรากฎ ดีนะยังไม่ได้ไปลาออก :P
จนตอนนี้ขอประมวลความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในช่วง 4 วันที่ผ่านมาหน่อยเหอะ
1. ความโลภและประมาทเข้าครอบงำ ไม่ยอมเลื่อน SL ตามราคาที่พุ่งขึ้น พอเผลอปุ๊บเรียบร้อย
2. เล่นสวนเทรน รู้อยู่ว่าเล่นสวนเทรนมันไม่งาม งานจะเข้า แต่ประมาทเล่นสวนแล้วพอกำไรไม่ยอมปิดออเดอร์ โลภอยากได้มากเพราะคิดว่ามันไม่น่าจะขึ้น แต่ก็ยังไม่ยอมเลื่อน SL นะ พอมันวิ่งกลับเข้า Trend เดิมก็บ้าไปเลย
3. เชื่อ indicator มากกว่าราคาที่เห็นอยู่ตรงหน้า คิดเข้าข้างตัวเองว่าเฮ้ย RSI overbought แล้วเด๋วมันต้องลง พอราคามันหักหัวนิดเดียวก็ short เลย ทั้งๆที่มันยังไม่จบแท่งด้วยซ้ำ กลัวกำไรน้อยไง(โลภอีกแล้ว) โดนทันที พอราคาไปต่อ indicator ก็ไปต่อ overbought ไปสูงกว่าเดิมอีก (แม่งงง)
4. เปิดออเดอร์โดยไม่มี SL นี่แหละ อันตรายสุดๆ ไม้เดียวโดนไปเกือบ $100 เข็ดไปเลยมั้ยล่ะ (เข็ดแล้วจ้า)
5. ปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน ด้วยความหวังลมๆแล้งๆว่าเด๋วมันต้องขึ้น นี่ก็บ้าไปเลยเชื่อมั่นมากไปทำให้เป็นสาเหตุของการรอจนกำไรเกือบ $100 กลายเป็นขาดทุน ถ้ามั่นใจ ยังไงก็ต้องเลื่อน SL ขอร้องเลย
6. มองทิศทางตลาดไม่ออกก็ยังเข้าไปเล่น จริงๆถ้ามองไม่ออกก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าน่าจะ side way เข้าไปก็เจ็บตัว แถมคืนกำไรเกือบหมดอีก

จำไว้ๆๆๆๆๆๆๆ อย่าให้เกิดขึ้นอีก

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พลังเงินทุนต่างชาติ กำลังหลักขับเคลื่อนหุ้นไทยในปัจจุบัน?

ก่อนอื่นขอเอารูปให้ดูก่อน


จากรูปเป็นกราฟ SET ที่มี indicator 2 ตัว คือ Foreign Fund flow และ Volume ของตลาดรวม ตอนนี้ขอพูดถึงเฉพาะส่วนของ Foreign fund flow นะครับ

จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมาเงินทุนของต่างชาติเข้ามาในตลาดหุ้นไทยเป็นจำนวนมาก
ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ปี 2004 - ปลายปี 2006 เงินต่างชาติไหลเข้ารวมทั้งสิ้น +17,033.41 ล้านบาท
ช่วงที่ 2 ปี 2007 ทั้งปี เงินต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยรวมทั้งสิ้น +6,423.37 ล้านบาท
ช่วงที่ 3 ปี 2008 ทั้งปี เงินต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทยรวมทั้งสิ้น -4,611.78 ล้านบาท
ช่วงที่ 4 ตั้งแต่ปี 2009 - ปลายปี 2010 เงินต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทย +14,714.15 ล้านบาท
ช่วงที่ 5 ตั้งแต่ต้นปี 2011 จนถึงปัจจุบัน เงินต่างชาติไหลออกแล้วรวมทั้งสิ้น -77.59 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่าช่วงที่ 1 เงินต่างชาติเข้ามามาก แต่ก็ยังไม่ทำให้หุ้นไทยขยับไปไหน ช่วงนี้เรียกได้ว่าต่างชาติไม่ค่อยมีผลกับหุ้นไทยมากนัก เพราะอะไร ไม่รู้เหมือนกัน น่าจะมาช่วยกันหาคำตอบหน่อย
ช่วงที่ 2 ช่วงนี้เหมือนนักลงทุนไทยเพิ่งตื่น หรือเพิ่งคิดได้ว่าเศรษฐกิจไทยนี่ดีนะ ราคาหุ้นขยับตัวสูงขึ้นมาก เพิ่มขึ้น 300 จุดในปีเดียว
ช่วงที่ 3 เหมือนฟ้าแกล้งอเมริกาเกิดวิกฤต Subprime หุ้นไทยร่วงระเนระนาดจาก 900 จุดในปี 2007 มาเหลือแค่ 400 จุดตอนสิ้นปี 2008 แต่สังเกตุดูที่บอกว่าฝรั่งเอาเงินออกน่ะ เอาออกไปไม่เท่ากับที่เอาเข้าปีที่แล้วด้วยซ้ำ นี่แสดงว่าเราตกใจกันเกินกว่าเหตุหรือเปล่า
ช่วงที่ 4 หลังจากทุกอย่างเริ่มคลี่คลายมีดหล่นลงปักพื้น ฝรั่งกลับมาอีกครั้งด้วยมูลค่ารวมของปี 2009 - 2010 เกือบหมื่นห้าพันล้านบาท หุ้นไทยก็วิ่งไม่ลืมหูลืมตา เกิดเศรษฐีใหม่อายุน้อยๆที่มองเห็นการณ์ไกลมากมาย
ช่วงที่ 5 ปีนี้ 2011 หุ้นไทยทำจุดสูงสุดที่ 1,113.63 จุดเมื่อวันที่ 21 เดือนเมษาแต่หลังจากวันนั้นฝรั่งก็เริ่มรินเงินออกจากตลาดหุ้นไทย

ขอเปรียบเทียบให้เห็นภาพนะครับ รูปข้างล่างคือรูปก่อนเกิด Subprime


จะเห็นได้ว่าหลังจากฝรั่งเทขายหุ้นออกมา หุ้นไทยก็ร่วง แต่ว่ามีแรงเฉื่อยจากนักลงทุนรายย่อยกลับเ้ข้าซื้อหุ้น ทำให้หุ้นไทยขยับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง แต่จะเห็นได้ว่าฝรั่งไม่กลับเข้ามาซื้อต่อเนื่องอีกเลย ทำให้หุ้นไทยไม่มีแรงซื้อที่แข็งแกร่งที่จะดันดัชนีขึ้นไปทำ New high ได้ จนเกิด Subprime หุ้นไทยร่วงเละเทะดังกล่าว














รูปข้างล่างคือภาพในปัจจุบัน

จะเห็นว่าหลังจากแรงขายหนักๆจากฝรั่งจนทำหุ้นไทยร่วงแรงแล้วก็ไม่ได้มีแรงซื้อต่อเนื่องจากฝรั่งอีกเลยจนทุกวันนี้

ถ้าสมมุติฐานเราอยู่ที่หุ้นจะขึ้นต้องมีแรงซื้อจากฝรั่งมาช่วยดันดัชนี นั่นแปลว่าตอนนี้เราก็ยังอยู่ในขาลงอยู่ใช่หรือเปล่า ?

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เศรษฐกิจต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่

คำกล่าวที่บอกว่าเวลาล้ม ล้มเป็นโดมิโน่นี่ไม่ได้เกินจริงแต่อย่างใด เคยเกิดให้เห็นมาแล้วหลายครั้งในอดีต ของไทยก็เคยมีตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง ตอนนั้นก็กระทบกันไปทั้งโลกโดยเริ่มที่ไทยก่อน ไม่กี่ปีที่แล้วก็วิกฤตซับพรามในอเมริกา ตอนนั้นไทยโดนหนักโดยเฉพาะตลาดหุ้นจากประมาณ 900จุดไปเหลือ 400จุดภายใน 1 ปี ใครโดนมาตอนนั้นคงยังพอจำกันได้ แต่ผมไม่โดน ฮ่าๆเพราะตอนนั้นยังไม่เริ่มเข้าตลาด :D

ล่าสุดตอนนี้ยังไม่สะเด็ดน้ำก็คือกรีซ ยังไม่รู้จะออกหัวหรือก้อย เค้าว่าเศรษฐกิจกรีซส่อแววมานานแล้ว ตั้งแต่ปลายปี 2009 แล้วก็กระเพื่อมเป็นช่วงๆตลอดมาจนเริ่มสุกงอมเมื่อปลายปีต่อมาต้นปีนี้ จนตอนนี้เรียกได้ว่าใกล้เละแล้ว

เละยังไง ก็ตอนนี้รัฐบาลต้องการเงินกู้ก้อนที่ 5 จาก EU และ IMF ขนาด 1.2 หมื่นล้านยูโรเพื่อมาชำระหนี้พันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนสิงหาคมนี้ (พันธบัตรรัฐบาลก็คือรัฐบาลขอกู้เงินกับประชาชนนั่นเอง ที่เค้าบอกว่าพันธบัตรมั่นคงสูงก็เพราะลูกหนี้เป็นรัฐบาล โอกาสเบี้ยวหนี้ก็น้อย แต่ตอนนี้กรีซกำลังจะไม่มีตังไปจ่ายเจ้าหนี้แล้ว) ทีนี้ EU กับ IMF ก็มีเงื่อนไขในการให้กรีซกู้เงิน โดยขอให้กรีซเพิ่มมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อจะได้แน่ใจได้ว่ากรีซจะมีฐานะทางการเงินดีขึ้น จะได้ไม่เบี้ยวหนี้ EU กับ IMF อีกราย ทีนี้ก็เป็นเรื่องสิ เพราะนโยบายรัดเข็มขัดรอบก่อนหน้าโดยการปรับลดค่าแรงและบำเน็จบำนาญก็ทำประชาชนเดือดมาทีนึงแล้ว คราวนี้เลยมีประท้วงใหญ่ ตามข่าวนักข่าวบอกว่ามีไม่ต่ำกว่า 4หมื่นคนที่ออกมาประท้วงรัฐบาล เลยเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีนายจอร์จ ปาปันเดรอู อาจจะปลดนายจอร์จ ปาปาคอนสแตนตินูออกจากรมต.คลัง การเมืองกระเพื่อมทีเดียว แต่แค่นี้ยังน้อยถ้าเทียบกับระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง

เพราะเจ้าหนี้ที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลกรีซไว้คือธนาคารใหญ่ๆทั้งหลายในสหภาพยุโรป ทีนี้พอธนาคารโดนเบี้ยวมันก็จะกระทบเศรษฐกิจของยุโรปต่อเนื่องเป็นลูกโซ่เพราะสภาพคล่องธนาคารจะลดลง อาจส่งผลให้เศรษฐกิจของยุโรปชลอตัวลง

แถมบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือยังมาตอกย้ำความเชื่อว่ากรีซจะไม่จ่ายหนี้ด้วยการปรับลดเครดิตกรีซเหลือแค่ CCC ซึ่งต่ำกว่า Junk Bond ซะอีก ถ้าเทียบตอนนี้อันดับความน่าเชื่อถือของกรีซก็ต่ำที่สุดในโลกแล้ว โดยต่ำกว่าประเทศยากจนอย่างปากีสถาน และเอกวาดอร์ซะอีก

แล้วทีนี้เกิดอะไรขึ้น ค่าเงินยูโรก็อ่อนสิครับ ทำให้ค่าเงิน US แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโรประกอบกับการที่นักลงทุนเชื่อว่าเศรษฐกิจยุโรปจะชลอตัว ทำให้ราคาน้ำมันตกแรงเลยทีนี้ โดยสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าเดือนกรกฏาคมลดลงไปถึง 2-3 USD ภายในวันเดียว

ทีนี้พอยุโรปเศรษฐกิจทำท่าจะชลอตัว ซึ่งอเมริกาก็เหมือนจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบ 2 ยิ่งรวมกับจีนที่ตอนนี้ต้องการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจเพราะอัตราเงินเฟ้อขึ้นมาสูงถึง 5% แล้ว ตอนนี้เลยพาให้ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมทั้งไทยเกิดอาการเซๆ

เมื่อเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ดี แต่ละประเทศไม่ค่อยมีตังซื้อของ ประเทศที่เน้นการส่งออกอย่างไทยซึ่งประเทศที่นำเข้าสินค้าไทยมากเป็นอันดับ 1 และ 3 คือจีนและอเมริกาจะเป็นยังไง คำตอบที่น่าจะคิดได้ก็น่าจะเป็นไทยก็คงจะเซไปกับเค้าด้วยนั่นแหละ

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ใครได้กำไร

หลายวันมานี้ต่างชาติเทขายตลอดเกือบ 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ทำให้ดัชนี SET รูดเป็นน้ำก๊อก แต่ขณะเดียวกันคนที่ทำให้ SET ไม่ร่วงมากก็คือรายย่อยที่ขนเงินมาช้อนซื้อหุ้นที่ต่างชาติขาย จนจะเห็นได้ว่าวันไหนต่างชาติขายวันนั้นรายย่อยซื้อสุทธิ วันไหนที่ต่างชาติซื้อรายย่อยขายสุทธิ จนนักวิเคราะห์บางคนบอกรายย่อยไทยทุกวันนี้เก่งมาก ช้อนซื้อของถูกเอาไปขายฝรั่ง

เป็นอย่างนั้นจริงหรือ???

บางครั้งมองผ่านๆมันก็อาจเป็นแบบนั้น และรายย่อยบางคนก็คงเป็นแบบนั้น แต่ไม่ใช่คนส่วนใหญ่แน่นอน เพราะอะไร? ...ก็น่าจะเป็นเพราะในขณะที่รายย่อยซื้อสุทธิดัชนีกลับยังเป็นลบ แถมบางวันลบเยอะด้วย

แปลว่าอะไร ก็แปลว่ารายย่อยที่ซื้อวันที่ลงวันแรกๆติดดอยไง ถึงจะซื้อเฉลี่ยขาลงเพราะคิดว่ามันลงมาเยอะแล้ว แต่ดัชนีมันก็ยังลงไม่หยุดเพราะฝรั่งยังไม่หยุดขาย เพราะงั้นถึงจะเฉลี่ยขาลงต้นทุนก็ยังคงสูงอยู่ดี

ฉะนั้นรายย่อยที่ได้กำไรก็คือรายย่อยคนที่ซื้อวันสุดท้ายก่อนที่ดัชนีมันจะกลับตัวเป็นบวก คนที่ซื้อวันนั้นแหละซื้อของถูกจริง นอกนั้นซื้อแพงหมด !!!

และถ้ามันยังเป็นขาลงอยู่ ดัชนีไม่เด้งกลับไปเท่าหรือเกินทุนรายย่อยที่ซื้อวันแรกๆหรือซื้อเฉลี่ยขาลงจะอยู่ดอยนานแน่นอน

ระวังๆๆๆ ถ้าแนวโน้มตลาดไม่ดีอย่ารีบเข้าไปรับมีด ไม่ใช่แค่บาดมือแต่บาดลึกถึงในทรวงเลยทีเดียว

แบงค์กงเต็ก ?

นึกถึงอัตราเงินเฟ้อของไทยทุกวันนี้ รัฐบาลบอกว่าไม่เกินร้อยละ 4 ในขณะนี้ ซึ่งตัวเลขนี้มาจากตัวเลขเงินเฟ้อที่คิดจากราคาสินค้าควบคุม ไม่อยากคิดว่าอัตราเงินเฟ้อจริงๆของไทยเป็นเท่าไหร่กันแน่

คิดได้อย่างนี้ก็เลยพาลนึกไปว่า เอ๊ะแล้วประเทศอะไรนะที่เงินเฟ้อมากที่สุดในโลกปัจจุบัน เคยได้ยินในหนังสือหลายเล่มบอกว่าประเทศซิมบับเวเงินเฟ้อเลวร้ายที่สุด อือ เลวร้ายนี่มันแค่ไหนนะ เลยไปหาในวิกิ โอ้ววว ดวงตาเห็นธรรม ข้างล่างนี้คือข้อความจากวิกิ

"อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 ต่อปีในปี 1998 จนถึงร้อยละ 231,000,000 ตามสถิติของทางการในเดือนกรกฎาคม 2008 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะเงินเฟ้อรุนแรง และทำให้ธนาคารต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์มาใช้ ในเดือนพฤศจิกายน 2008 ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวพุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 516 ล้านล้านล้านต่อปี และราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 1.3 วัน และนับเป็นภาวะเงินเฟ้อรุนแรงที่เลวร้ายเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์โลก รองจากวิกฤติเงินเฟ้อในฮังการีในปี 1946 ซึ่งราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 15.6 ชั่วโมง"

โอ้วว ธนาคารออกแบงค์มานี่ 0 คงเต็มพรึดไปหมด อยากเห็นจัง แต่ๆๆๆ นี่แค่เริ่มต้น มาดูแบงค์รุ่นที่ 3 ของประเทศนี้กัน แบงค์ 100 ล้านล้านเหรียญ (บ้าไปแล้ว)


แบงค์ข้างบนนี้มีค่าราวๆ 33 ดอลล่าห์สหรัฐ
ในวิกิบอกไว้ว่า "เศรษฐกิจที่ดิ่งลงเหวนี้มีสาเหตุหลักมาจากการบริหารที่ล้มเหลวและการคอร์รัปชันของรัฐบาลมูกาเบ" ปัจจุบันซิมบับเวทำได้ดีขึ้น อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 5% ในปี 2010 แต่อย่าเพิ่งดีใจ นี่น่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อคิดเทียบกับปีที่แล้ว แต่ยังไงก็ตามอัตราเร่งมันก็ลดลงเยอะ

ประเทศในแทบบ้านเราที่อัตราเงินเฟ้อสูงๆก็คงไม่พ้นเวียตนาม ประเทศที่คาดกันว่าจะเป็นเสือตัวสุดท้ายของเอเซียแต่แล้วก็สะดุดขาตัวเอง เวียตนามเองเงินเฟ้อก็สูงใช้ได้เหมือนกันคือประมาณเกือบ 20% ในปัจจุบัน ไปดูแบงค์เวียตนามกันบ้าง


อืม 5แสนด่อง ก็ไม่เลว

หวังว่าไทยจะหยุดอยู่แค่แบงค์พันก็แล้วกัน

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กฎการเข้าซื้อขายหุ้น

ทุกคนต้องมีกฎในการเข้าซื้อขายหุ้น ใช้เวลาอยู่กับกฎนั้น ทบทวนกฎเมื่อถึงเวลาว่ากฎนั้นยังใช้งานได้ดีอยู่หรือไม่
ต่อไปนี้กฎที่ต้องทำทุกครั้งคือ

การเลือกหุ้น เลือกหุ้นที่อยู่ใน SET100 เท่านั้น

การเข้าซื้อหุ้น
1. ซื้อหุ้นที่เป็นขาขึ้นเท่านั้น หุ้นจะเป็นขาขึ้นหรือเปล่าให้ดูจาก MACD อยู่เหนือเส้น 0
2. หุ้นต้องมี higher high หรือทำจุดสูงสุดใหม่ ถ้าอยู่ wave 1 ได้จะดีมาก หรือทำ new all time high (สูงสุดตั้งแต่เข้าตลาด)
3. หุ้นต้องมี volume วันที่ซื้อขายสูงกว่าค่าเฉลี่ย 6 เดือนย้อนหลัง (หา indi อยู่ ยังอาจพักไว้ก่อน)

การขายหุ้น
1. ขายเมื่อราคาลงมา "แตะ" stop loss ห้ามแหกกฎ
    - เมื่อหุ้นน่าจะอยู่ใน wave 1, 5, B ใช้ trailling stop หรือกฎ hi-lo
    - เมื่อหุ้นน่าจะอยู่ใน wave 3 ขายเมื่อหุ้นทำจุดต่ำสุดใหม่ ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม

ปริมาณการเข้าซื้อ
ใช้สูตร 3-2-1 หุ้นแต่ละตัวซื้อแค่ 3 ครั้ง แบ่งเงินเป็น 6 ส่วน และซื้อเพิ่มเมื่อทำ higher high

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Volume Surge

จากทฤษฎีของ Dow ที่บอกว่าถ้าหุ้นจะขึ้นมันจะต้องมาพร้อม volume แต่บางครั้งราคายังไม่มาแต่ Volume มารอจนปริ่มจวนแตกแล้ว งี้มองได้ 2 อย่าง
1. ราคาใกล้มาแล้ว มันทาน volume ไม่ไหวแล้ว ซื้อรอได้เลย
2. Volume เยอะมากแต่ราคาไม่ไปไหน แปลว่ามีคนขายใส่ตลอด แนวต้านแข็งมาก หรือไม่ก็จ้าวปล่อยของ

แต่ยังไงก็แล้วแต่ถ้า Volume มันเยอะจริง ยังไงราคามันก็ต้องไป ฉะนั้นซื้อเมื่อราคามัน break แนวต้าน ซื้อรอก็อาจได้ถูก แต่ถ้ามันไม่ผ่านก็เจ็บตัว

ข้อดีของการซื้อเมื่อผ่านแนวต้านก็คือแนวต้านนั้นมันจะกลายเป็นแนวรับ(เอ๊ะได้ยินบ่อยๆ) ถ้ามันเป็นขาขึ้นจริงราคาก็มักไม่ลงมาต่ำกว่าแนวรับนี้

จะให้ดีควรหาตัวที่ volume เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน RSI ก็เพิ่มขึ้นแต่ราคากลับ side way แบบนี้มีเปอร์เซ็นที่มันจะขึ้น แต่ต้องดูด้วยว่ามันอยู่ wave ไหน ถ้า wave C มันก็อาจเริ่ม wave 1 ถ้าอยู่ wave 5 ก็มีเวลาเล่นแป๊บเดียว แต่ทั่วไปถ้า volume มาเยอะๆก็แปลว่ามันอยู่ wave 3 แล้วต้องดูให้ดีๆด้วย

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Divergence





Divergence แปลตรงตัวก็คือการขัดกัน ซึ่งหมายถึงแนวโน้มทิศทางของราคาขัดกันกับแนวโน้มของ indicator

Indicator ที่ใช้หา Divergence มีหลายตัว ที่นิยมใช้ก็คือ RSI, MACD หรือ Sto. Divergence นิยมมากเพราะไม่ค่อยพลาด(พลาดบ้างแต่ไม่บ่อย) ใช้ confirm แนวโน้มการเปลี่ยนของราคาได้ดีมาก มักเกิดขึ้นบ่อยเมื่อ wave 5 จะกลับตัวเป็น wave A หรือ wave C จะกลับตัวเป็น wave 1

วิธีจำ
Bullish divergence ดูท้องคลื่น Bearish divergence ดูยอดคลื่น

Divergence แบ่งเป็น
1. Divergence ธรรมดา ถ้าเกิดจะเป็นการ confirm การกลับตัว
2. Hidden divergence ถ้าเกิดจะเป็นการ confirm การไปต่อ

Divergence(กลับตัว)
1. Bullish divergence จะพบเมื่อกราฟเป็นขาลง ราคาทำจุดต่ำสุดใหม่(Lower low) แต่ indicator กลับไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่ หรือจุดต่ำสุดที่สูงกว่าเดิม(Higher low)
2. Bearish divergence จะพบเมื่อกราฟเป็นขาขึ้น ราคาทำจุดสูงสุดใหม่(Higher high) แต่ indicator กลับทำจุดสูงสุดใหม่ไม่ได้ หรือจุดสูงสุดต่ำกว่าเดิม(Lower high)

Hidden Divergence(ไปต่อ)
1. Hidden bullish divergence จะพบเมื่อกราฟเป็นขาขึ้น ราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าเดิม(Higher low) แต่ indicator กลับไม่ทำจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น หรือทำจุดต่ำสุดที่ต่ำกว่าเดิม(Lower low)
2. Hidden bearish divergence จะพบเมื่อกราฟเป็นขาลง ราคาทำยอดคลื่นต่ำลง(Lower high) แต่ indicator กลับทำยอดคลื่นสูงกว่าเดิม(Higher high)

วิธีสังเกตุ Divergence ที่ง่ายที่สุดคือต้องรู้ก่อนว่าตอนนี้เป็น trend อะไร และจำให้ได้ว่า Bullish ดูท้องคลื่น Bearish ดูยอดคลื่น เมื่อดูที่ราคาแล้วก็มาดูที่ indicator ถ้ามันขัดกันก็เกิด divergence แล้วค่อยมาดูว่ามันเป็น divergence แบบไหน

ข้อควรระวัง
Hidden divergence มักเกิดหลัง divergence ถ้าเห็น divergence แล้ว ราคากลับตัวมานิดเดียวแล้วกลับตัวไปตาม trend เดิมต่อ แบบนี้อาจเกิด hidden divergence ได้

เตือนใจ

- อย่าพยากรณ์อนาคต ให้อยู่กับปัจจุบัน เช่นวันนี้หุ้นลงแรงแต่ RSI ยังไม่ Overbought เลย ถ้ามันถึง Stop lose เราก็ต้องขายทิ้ง อย่าไปคิดว่าเฮ้ย...อีก 2-3 วันค่อยขายก็ได้ ยังงี้ไม่ได้หมดตัวแน่

- ของดีต้องแพง หมายถึงหุ้นดี ราคาไม่มีต่ำอยู่แล้ว ไม่ใช่เราคนเดียวที่จะเห็นว่ามันดี คนอื่นๆก็เห็นเหมือนกัน แล้วพวกนั้นเค้าก็ไปซื้อสะสมกันแล้ว ถ้าหุ้นจะขึ้นไม่มีทางที่มันจะต่ำเตี้ยเรี่ยดินได้นาน

- ตาม Trend ใหญ่และTrend จะมีจนกว่ามันจะหมดลง หมายถึงจะเล่นให้ดู Trend ใหญ่ด้วย เล่นฝืน Trend มันยากเหนื่อยด้วย เช่นถ้า trend มันขึ้นถึงจะเจอแนวต้าน ชาวบ้านเค้าบอกว่าระวัง double top ก็ฟังไว้แต่ให้คิดไว้ว่าถ้ากราฟมันยังไม่หักหัวลง มันก็ยังไม่เปลี่ยน trend แต่มันจะพุ่งทะลุแนวต้านไปได้ ถ้าเจอแบบนี้ก็เข้าได้ อย่าไปกลัว

- หุ้นไม่มีถูกแพง มีแต่ขึ้นหรือลง ถ้าหุ้นมันจะขึ้นถึงแพงก็ต้องซื้อ การดู PE ว่าหุ้นแพงถูกนั้นไม่อยากบอกว่ามันดูยากเพราะเราไม่รู้ว่าผู้บริหารบอกความจริงเราหรือเปล่า หรือบอกหมดหรือเปล่า ไม่อยากบอกว่าเมื่อก่อนทำงานบริษัทมหาชน Finance เคยมาขอให้ upload ไฟล์ 2 ตัว ตัวนึงขึ้น intranet ให้ผู้บริหารดู อีกตัวขึ้น internet ให้นักลงทุนทั่วไปดู ชื่อไฟล์เหมือนกัน แต่ข้อมูลข้างในไม่เหมือนกัน อืม....น่าคิดเนาะ

- อย่าเอา Indicator นำราคา หมายถึงการตัดสินใจต้องใช้ราคา ณ.ปัจจุบันเสมอ อย่ามองแต่ indicator เพราะ indicator เอาข้อมูลอดีตมาพยากรณ์อนาคต ให้ใช้ indicator ในการช่วย confirm ว่าที่เราคิดนั้นถูกต้องเช่นราคาเริ่มลงแล้วเราก็ดู indicator ว่าอ้อ RSI overbought แล้วนะเกิด divergence แล้วด้วย อย่างงี้ก็ควรขายได้ ไม่ใช่ว่าราคายังไม่ผงกหัวลงเลย แต่ดู RSI ว่า overbought แล้วเกิด divergence แล้วรีบขายซะก่อน กลัวจะลงอย่างนี้ไม่ได้เพราะราคามันอาจไม่ลงก็ได้

- อย่าโลภพยายามขายที่จุดสูงสุด ซื้อที่จุดต่ำสุด ถามจริงตั้งกะเล่นมาทำได้กี่ครั้ง บางคนทำไม่ได้เลย ฉะนั้นอย่าพยายามไปทำอะไรยากๆแบบนั้น โลภน้อยหน่อย ซื้อตอนราคามันเริ่มกลับตัวแล้ว กะขายตอนราคามันเริ่มผงกหัวลงแบบนี้ปลอดภัยกว่า โอกาสทำได้มากกว่า โอกาสขายหมูก็น้อยกว่า

- อย่ารีบเข้าไปรับมีดตอนราคามันลง รอมันนิ่งๆก่อนค่อยเข้าไปเก็บ แทนที่จะถัวเฉลี่ยขาลง สู้พอมันถึงพื้นแล้วเข้าไปกวาด ต้นทุนเราจะถูกกว่าเยอะ

- โลภได้เท่าความรู้ที่มี เช่นไม่รู้ว่าหุ้นตัวนี้ขึ้นเพราะอะไร สัญญาณอะไรก็ไม่มีซักอย่างแต่อยู่ๆมันก็ขึ้นอย่างงี้ก็ปล่อยมันไปเหอะ สัญญาณขึ้นยังไม่มีแล้วสัญญาณลงมันจะมีได้ไง โดดตามเข้าไปโอกาสอยู่ดอยก็มีสูง

- หุ้นที่จะขึ้นมันต้องทำ New high(จุดสูงสุดใหม่) และ Higher low(จุดต่ำสุดสูงขึ้นเรื่อยๆ)
- หุ้นที่จะลงมันต้องทำ New low(จุดต่ำสุดใหม่) และ Lower low(จุดต่ำสุดต่ำลงเรื่อยๆ)

- อย่าปล่อยให้หุ้นที่ได้กำไรเปลี่ยนมาเป็นขาดทุน ตั้งจุด stop lose ที่เหมาะสม ถ้าลงมาโดนก็ออกเลย อย่าไปหวังลมๆแล้งๆว่ามันจะกลับมาขึ้น อย่าโลภมากอยากให้มันเด้งไปจุดเดิมก่อนค่อยขาย

- เล่นหุ้นให้สบายใจต้องเล่นแบบมี Stop loss เล่นแบบไม่โลภ การเล่นหุ้นเป็นเกมส์จิตวิทยา และสำคัญที่สุดโลภมากลาภหาย

- ไม่มีการ Take profit มีแต่ Let profits run เรามี Stop loss แล้วไง ก็ปล่อยกำไรมันวิ่งไปดิ ถ้ามันเปลี่ยน trend ราคามันก็ร่วงมาโดน stop loss เองล่ะ อย่าโลภมันจะกลายเป็นขายหมู

- คนฉลาดมักประสบความสำเร็จจากตลาดหุ้นเป็นคนสุดท้าย เพราะว่าคนฉลาด IQ สูงความคิดเป็นระเบียบและคิดในเชิงตรรกะ หมายถึงการจะทำอะไรมักมองเห็นหรือคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าได้ เช่นถ้าให้ตัวเลข 1, 2, 3, X ถามว่า X คืออะไร คนที่มีตรรกะก็ไม่ต้องคิดเลยว่า X คือ 4 แต่แบบนั้นมันเอามาใช้กับตลาดไม่ได้ เคล็ดลับคืออย่าพยายามเดาตลาด มันเป็นไงก็ตามนั้น ทำตามปัจจุบันไปเรื่อยๆ

- ตลาดหุ้นเป็นตลาดที่รวมความคาดหวังของคนไว้ ราคาจะเป็นไปตามความคาดหวังของคนหมู่มาก คิดสวนตลาดก็แปลว่าคิดไม่เหมือนคนอื่น ถ้ายังไม่เก่งก็คิดตามๆกันไปนั่นแหละ ได้ตัง อย่าไปหวังชนะตลาด ยอมตามไปแล้วได้เงินดีกว่า

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Dow Theory

ทฤษฎี Dow

ไม่ใช่ทั้งหมด แต่สรุปจากความเข้าใจ
1. Price discounts all news หมายถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นข่าวดี ข่าวร้าย จะถูกสะท้อนอยู่ในราคาอยู่แล้ว ซึ่งในตลาดที่มีประสิทธิภาพราคาจะนำหน้าพื้นฐานเสมอ เทียบกับบ้านเราก็คงเป็นราคาจะเริ่มขยับขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ พอคนเริ่มตามราคาก็จะขึ้นแรงจากนั้นข่าวก็จะออกมาว่าขึ้นเพราะโน้นเพราะนี้ ก็ว่ากันไป

2. ตลาดจะ confirm ซึ่งกันและกัน อันนี้ต้องย้อนกลับไปไกลตั้งกะสมัย Dow คิดทฤษฎี ตอนนั้นอุตสาหกรรมบูมแต่จะส่งสินค้าไปให้ผู้บริโภคได้การขนส่งทางรถไฟต้องดีด้วย ฉะนั้นนักลงทุนขณะนั้นจะดูว่าหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมจะขึ้นมั้ย ต้องดูว่าหุ้นกลุ่มขนส่งมีสัญญาณหรือเปล่า เพราะ 2 กลุ่มนี้จะไปด้วยกัน อันนี้ถ้าจะมาเทียบกะสมัยนี้ก็คงต้องถ้าค่าระวางเรือ BDI ขึ้น หุ้นกลุ่มเรือก็น่าจะขึ้นด้วย อย่างงี้มั้ง

3. Trend จะมาต้องมี Volume มาด้วย คือถ้าหุ้นมันจะขึ้นจริง มันต้องมาจากมีคนซื้อเยอะจริงๆ หุ้นมันถึงจะขึ้น ข้อนี้อาจขัดกับหุ้นปั่นเมืองไทย ฉะนั้นถ้าจะใช้ Technical ควรหาหุ้นที่มี Volume หุ้นมหาชน ไม่งั้นกราฟที่ได้มันจะไม่สะท้อนราคาที่แท้จริง

4. Trend จะมีไปเรื่อยๆจนกว่ามันจะหมดลง หมายถึงถ้า trend ลงมันจะลงต่อ ถ้า trend ขึ้นมันจะขึ้นต่อ ให้คิดแบบนี้ไว้เสมอเพราะเราจะผิดครั้งเดียวตอนที่ตลาดมันกลับหัวลง แต่ถ้าไปคิดว่ามันขึ้นไปเจอแนวต้านแล้วมันจะลงเป็น double top หรือเข้าเขต overbought แล้วมันต้องลง แบบนี้ไม่ได้เพราะเราจะผิดทุกครั้ง จะถูกครั้งเดียวตอนที่มันลงจริงๆ(ลุงโฉลกพูดบ่อยมากๆ)

Elliott Wave

Elliott Wave
ทฤษฎีที่เค้าว่ากันว่าแม่นยำสูงแต่นั่นน่าจะเพราะหลักการมันยืดหยุ่นมาก อย่าใช้ Elliott wave เป็นหลักในการเข้าซื้อหรือขาย แต่ใช้ Elliott wave ในการพยายามหาว่าต่อไปข้างน่ามันน่าจะเป็นอะไร เพื่อเราจะได้เตรียมตัวถูก หลักการคืออย่าพยายามหาว่าตอนนี้เราอยู่คลื่นไหน แต่ให้พยายามถามตัวเองว่า คลื่นที่เราอยู่มันเป็นคลื่นอะไรได้บ้าง แล้วถ้าไม่ใช่มันควรเป็นคลื่นไหน รู้แบบนี้แล้วเราจะได้เปรียบเพราะจะหาทางหนีทีไล่ไว้ก่อน เช่นตอนนี้เรารู้แล้วว่าเราน่าจะอยู่ใน wave 3 ของ time frame daily แต่ว่าน่าจะอยู่ใน wave B ของ time frame week/month เราก็ควรจะรู้ว่าต่อไปควรจะลงเพราะ trend ใหญ่มันยังเป็นขาลง รู้อย่างนี้ถ้าเราเข้าก็อย่าถือยาว ทำตัวเป็น VI ก็ได้ตังตอนแรก 3 เดือนหลังก็น้ำตาตก


Elliott wave มีส่วนสำคัญ 2 ส่วน
1. Motive wave
2. Corrective wave

Motive wave ไม่ได้แปลว่าต้องอยู่ในขาขึ้นเท่านั้นถึงจะเป็น motive wave ขาลงก็เป็น motive wave เหมือนกัน motive wave ความหมายง่ายๆก็คือเป็น wave ที่มีพฤติกรรมไปตาม trend ช่วงนั้นๆ สังเกตุดู motive wave จะมี 5 คลื่น 1-2-3-4-5 และจะยาวกว่า corrective wave เพราะ motive wave เป็นคลื่นตาม trend จึงยาวกว่าคลื่นที่ฝืน trend อย่าง corrective wave เป็นธรรมดา โดยทั่วไป motive wave จะมีทั้งหมด 5 คลื่น 1-2-3-4-5

Corrective wave ยึดตามนิยามของ motive wave corrective wave จึงหมายถึงคลื่นที่ฝืน trend ถ้าตามความหมายภาษาอังกฤษก็คือพยายามจะแก้ไข trend ที่มีอยู่ในขณะนั้น เช่นตอนนี้เป็นขาขึ้น corrective wave ก็พยายามฝืน trend เป็นขาลง ถ้าเป็นขาลงอยู่ corrective wave ก็พยายามฝืนให้ trend เป็นขาขึ้น แต่เพราะฝืน trend คลื่นจึงสั้นกว่าคลื่นตาม trend อย่าง motive wave โดยทั่วไป corrective wave จะมีทั้งหมด 3 คลื่น A-B-C

พฤติกรรมอีกอันนึงที่น่าถีบของทฤษฎี Elliot wave คือในคลื่นใหญ่จะมีคลื่นเล็กๆอยู่ได้ไม่รู้จบ ทำให้เป็นการยากมากกกกกกกกก ที่จะนับคลื่นได้อย่างถูกต้อง และเป็นเหตุให้คลื่นที่ 2 กับ 4 ใน motive wave คือ corrective wave และในขณะเดียวกันคลื่น A กับ C ใน corrective wave จึงเป็น motive wave (บ้ามาก)

การจะดูว่าคลื่นไหนเป็น motive หรือ corrective ต้องดู trend ใน time frame นั้นๆประกอบด้วย
Elliott wave สัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับตัวเลข Fibonacci (อย่าถามว่าทำไม ไม่รู้เพราะไม่ได้อ่านหนังสือ นี่แค่การสรุปความรู้ที่มี) ฉะนั้นจึงใช้ Fibonacci Replacement ในการหาเป้าหมายร่วมกับ Elliott wave ได้

กฎของ Elliott wave (ฝืนไม่ได้)
1. wave 2 ต้องไม่ปรับตัวลงต่ำกว่า wave 1  มันก็แน่นอน wave 1 มันเริ่มขาขึ้นแล้วถ้ายังมีการทำ lower low อีกมันก็ยังไม่เป็นขาขึ้น แล้วมันจะเป็น wave 1 ได้ไง
2. wave 3 ต้องไม่ใช่ wave ที่สั้นที่สุด เพราะปกติ wave 3 เป็น wave ที่คนเข้ามาเล่นมากที่สุด จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะสั่นกว่าชาวบ้าน
3. wave 4 ต้องไม่ล้ำเข้าไปในยอดคลื่นของคลื่นที่ 1 ยกเว้นได้ถ้า wave 4 ทำ Triangle formation

Guide line (เกิดหรือไม่ก็ได้ แต่ส่วนมากจะเกิด)
1. wave 5 ควรจะสูงกว่ายอดคลื่นของ wave 3
2. wave 2 และ wave 4 มักจะสลับรูปแบบกัน เช่น wave 2 เป็น simple แล้ว wave 4 มันจะเป็น complex

รูปแบบของคลื่น
Motive wave มีรูปแบบดังนี้
1. Impulse คลื่นทั่วๆไป

2. Extension คลื่นยืดตัว
    - ประกอบด้วยจำนวนคลื่น 5, 9, 13 หรือ 17 คลื่น
    - เกิดใน motive wave 1,3,5,A หรือ C



3. Diagonal triangle รูปแบบสามเหลี่ยม
    - มักเกิดใน wave 5 หรือ wave C บางครั้งเกิดใน wave 1
    - เมื่อออกจากปลายสามเหลี่ยมทิศทางจะไปในทางตรงข้าม


4. Truncated 5th เกิดกับคลื่น 5 ที่ไม่สูงกว่า wave 3
    - มักเกิดใน Wave 5 หรือ wave C แต่จะไม่เกิดในคลื่นที่ 5 ของ wave 3



Corrective wave มีรูปแบบดังนี้
1. Zigzag รูปแบบซิกแซก
    - รูปแบบคลื่นเป็น 5-3-5
    - ปกติพบใน wave A, X หรือ 2 บางครั้งพบใน wave 4
    - Wave B ปรับตัวไม่มากกว่า 61.8% หรือ 78.6% ของ wave A


2. Flat รูปแบบราบ
    - wave B ปรับตัวมากกว่า 61.8% ของ wave A
    - wave B ปกติจะปรับตัวถึงปลายคลื่นก่อนหน้า
    - wave C ไม่ยาวกว่า wave A ปกติจะยาวเท่ากับ wave A
    - พบบ่อยใน wave B, 4 และ 2

    Flat แบบผิดปกติ

3. Triangle รูปแบบสามเหลี่ยม
    สามเหลี่ยมปกติ
    - ประกอบด้วย 5 คลื่น
    - คลื่น 4 ซ้อนต่ำกว่าปลายคลื่น 1
    - เกิดเฉพาะใน wave B, X หรือ 4 เท่านั้น
    สามเหลี่ยมปลายกว้าง

4. Combination รูปแบบผสม


ใช้ Fibonacci ช่วยในการจำแนกคลื่น
Wave 1
Wave 2 ส่วนใหญ่จะปรับตัวลงประมาณ 61.8% หรือ 78.6% ของ wave 1 แต่จะเป็น double bottom ก็ได้
Wave 3 ส่วนใหญ่จะขึ้นไปประมาณ 161.8% ของ wave 1
Wave 4
Wave 5
Wave A
Wave B
Wave C ประมาณ 61.8% หรือ 78.6% ถ้าลากจาก wave 1 ไป 5

TIPs
Wave 1: เริ่มต้น motive wave wave นี้จับหรือรู้ตัวยากมาก เพราะเป็น wave ที่เริ่มเปลี่ยน trend เราอาจยังมีความไม่แน่ใจว่านี่มันเปลี่ยน trend แล้วจริงๆหรือเปล่าแต่บางครั้งจะมี divergence บอกก่อน หรือเมื่อราคาเริ่มขยับขึ้นจาก RSI oversold
Wave 2:
Wave 3: ส่วนใหญ่ 95% จะเป็น wave ที่คนเล่นเยอะที่สุด แรงที่สุด ฉะนั้นอาจหา wave 3 ได้จาก RSI overbought
Wave 4:
Wave 5: เป็น wave ปล่อยของให้แมงเม่า ฉะนั้นแรงซื้อจะเริ่มหมด แรงขายเริ่มแรง โดยมากจะเกิด divergence
Wave A:
Wave B:
Wave C: เป็น wave ที่คนขายกันเยอะสุด บ่อยครั้งจึงเห็น RSI oversold

ต้้งแต่เริ่ม motive wave 1-2-3-4-5 จน corrective wave A-B-C ส่วนใหญ่จะได้ RSI 1 รอบพอดีคือตั้งแต่เริ่ม oversold ไปจนถึง overbought ได้ motive wave 1-2-3-4-5 จากนั้น overbought จนลงไป oversold ได้ corrective wave A-B-C แต่ต้องดูใน time frame ที่เหมาะสมด้วยนะ